โพสต์แนะนำ

วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2561

2498 เสด็จสุพรรณฯ(4)

๒๑ กันยายน ๒๔๙๘

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙
สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
เสด็จพระราชดำเนินดอนเจดีย์






*********

2498 เสด็จสุพรรณฯ(3)

กันยายน ๒๔๙๘

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙
สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
เสวยพระกระยาหารที่จวนผู้ว่าสุพรรณบุรี
ท่ามกลางชาวสุพรรณที่มาเข้าเฝ้าชื่นชมพระบารมี







*********

2498 เสด็จสุพรรณฯ(2)


กันยายน ๒๔๙๘

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙
สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
เสด็จพระราชดำเนิน วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร













*********

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2561

2498 เสด็จสุพรรณฯ


๒๐ กันยายน ๒๔๙๘








  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ 
และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
เสด็จพระราชดำเนิน เมืองโบราณอู่ทอง

 *********

















วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ทวารวดีเสด็จจากดาวดึงส์


พระพุทธรูปทวารวดี

พระศรีศากยมุนี ปางแสดงธรรม
เสด็จลงจากดาวดึงส์ พระพักตร์ตรงเหลือบพระเนตรลงต่ำ
แย้มพระโอษฐ์ มีพระมัสสุริมพระโอษฐ์
ประทับยืนบนบัลลังก์บัวคว่ำบัวหงาย
หล่อด้วยโลหะสำริดกะไหล่ทอง
ศิลปะทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๕




โครงการศึกษาศิลปะปฏิมากรรมทางศาสนา

*********

ทวารวดีตริภังค์


พระพุทธรูปทวารวดี

พระศรีศากยมุนี รัศมีรอบพระเศียร
พระพักตร์ก้มมองต่ำ ระหว่างพระขนงมีอุณาโลม
ประทับยืนแบบตริภังค์ ปางแสดงธรรม บนบัลลังก์บัวคว่ำบัวหงาย
หล่อด้วยโลหะสำริดกะไหล่ทอง
ศิลปะทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๕




โครงการศึกษาศิลปะปฏิมากรรมทางศาสนา

*********


วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ระฆังวันนี้


กังวานของระฆัง
พุทธศักราช ๒๕๖๑

ระฆังสำริดวัดโพธิ์คลาน เมืองสุพรรณ สร้างสมัยพระเจ้าปราสาททอง(1)

ประวัติศาสตร์ทางพุทธศาสนา บอกเล่าความเป็นมาให้คนในวันนี้รับรู้ว่า “ระฆัง” มีการสร้างมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล โดยนางวิสาขา อริยะบุคคลผู้ศรัทธาธรรมสำเร็จขั้นพระโสดาบัน สร้างระฆังรายรอบพระอารามหลังฟังธรรม กังวานเสียงดุจการบอกกล่าวถึงปิติภาวะที่ได้กระทำ เป็นที่จดจำและทำตามอย่างกันมา ปรากฏอยู่ทุกประเทศรัฐแคว้นที่นับถือศรัทธาในพุทธศาสนาทั่วโลก

เช่นเดียวกับ “สุวรรณภูมิ” ระฆังปรากฏอยู่ทุกที่ที่พุทธศาสนาแผ่ผ่าน ตั้งแต่ระฆังที่สกัดจากหินเป็นแผ่นกว้างใหญ่ด้านบนเจาะรูไว้สำหรับแขวนลอยตัว จนสมัยต่อมาผู้มีจิตศรัทธาสร้างระฆังหล่อด้วยโลหะสำริดเพื่อความแข็งแกร่งและคงทน อานุภาคของโมเลกุลในเนื้อโลหะมีคุณสมบัติการใช้งานที่ดังก้องกังวานไปทั่วคุ้งน้ำย่านบาง เป็นสัญญาณของวันใหม่ ระหว่างวัน และสิ้นสุดพลบเพลา อยู่คู่กับวัดวาอารามนับแต่อดีตมาถึงกึ่งพุทธกาล

ในตัวเมืองสุพรรณ พบระฆังใบใหญ่ที่วัดโพธิ์คลานอารามริมแม่น้ำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔๕ ซ.ม.สูง ๘๒ ซ.ม.เส้นรอบวงกว้าง ๑๔๑ ซ.ม.มีจารึกปรากฏอยู่รายรอบ บ่งบอกว่า พุทธศักราช ๒๑๘๑ พระยารามกับออกหมื่นเทพ ข้าหลวงสมัยพระเจ้าปราสาททอง ร่วมกับทายกทายิกา รวบรวมปัจจัยได้ ๑๕๐ ชั่งในการสร้างบุญ พร้อมกันนี้ได้ร่วมกันหล่อระฆังสำริดขึ้นถวายแด่พุทธศาสนา เพื่อภายภาคหน้าหวังให้ได้พบพระศรีอาริย

สมัยรัตนโกสินทร์ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี) สร้างหอระฆังที่วัดท่านฝั่งธนบุรี บอกบุญให้คนมาร่วม ใครศรัทธาบริจาคทรัพย์หรือกำลังแรงกาย ท่านก็แจกพระสมเด็จฯวัดระฆัง เป็นสิ่งระลึกในเนื้อนาบุญ ผลบุญของผู้คนที่ศรัทธาในวันนั้น ส่งผลให้ลูกหลานมีโอกาสครอบครองพระเครื่องอันทรงคุณค่าในวันนี้

เป็นเพียงอาทิตัวอย่างอันน้อยนิดของระฆังที่กระจายเดื่อนเกลื่อนแผ่นดิน กังวานของระฆังมิใช่เป็นสิ่งปรุงแต่งให้ผู้ได้ยินเร่าร้อนหรืองุ่นง่าน หากยังเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผ่านไปสู่ภาวะจิตธรรมทั้งเพศบรรพชิต และพุทธมามกะที่อาศัยอยู่รายรอบพระอาราม ต่างก็ใช้สัญญาณนี้ต่อการรำลึกในสัจธรรมแห่งการเวียนว่ายตายเกิด เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เว้นแม้แต่ในสรรพสัตว์ ยังรวมถึงสุนัขที่หอนขาน ยังรับเอาโสตเสียงนี้เป็นวิถีร่วมกับผู้คน อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน.

**********
(1) ภาพประกอบจาก ฐานจารึกข้อมูลประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร (องค์กรมหาชน)