โพสต์แนะนำ

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ผ้ายันต์อริยสงฆ์รัตนโกสินทร์ (20)

ผ้ายันต์อริยสงฆ์
ระหว่างปีพ.ศ.2450-2505


พระครูสิทธิสารคุณ
หลวงพ่อจาด  คังคสโร
วัดบางกะเบา บ้านสร้าง
ปราจีนบุรี
พ.ศ.๒๔๗๐

***


ผ้ายันต์อริยสงฆ์รัตนโกสินทร์ (19)

ผ้ายันต์อริยสงฆ์
ระหว่างปีพ.ศ.2450-2505


หลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปัญโญ
วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา

***

ผ้ายันต์อริยสงฆ์รัตนโกสินทร์ (18)

ผ้ายันต์อริยสงฆ์
ระหว่างปีพ.ศ.2450-2505


พรหมสี่หน้า
อาจารย์เฮง ไพรวัลย์

***

วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ผ้ายันต์อริยสงฆ์รัตนโกสินทร์ (17)

ผ้ายันต์อริยสงฆ์
ระหว่างปีพ.ศ.2450-2505


ผ้ายันต์สิงห์คู่
หลวงปู่ซวง อภโย
วัดชีปะขาว 
พรหมบุรี สิงห์บุรี
พ.ศ.๒๔๘๕

***


ผ้ายันต์อริยสงฆ์รัตนโกสินทร์ (16)

ผ้ายันต์อริยสงฆ์
ระหว่างปีพ.ศ.2450-2505



ภาพพิมพ์หลังยันต์
พระครูกรุณาวิหารี
หลวงปู่เผือก ปญฺญาธโร
วัดกิ่งแก้ว สมุทรปราการ

***

วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ผ้ายันต์อริยสงฆ์รัตนโกสินทร์ (15)

ผ้ายันต์อริยสงฆ์
ระหว่างปีพ.ศ.2450-2505


หลวงพ่อไปล่ ฉนฺทสโร
วัดกำแพง ฝั่งธนฯ กทม.
พ.ศ.๒๔๘๕

***

ผ้ายันต์อริยสงฆ์รัตนโกสินทร์ (14)

ผ้ายันต์อริยสงฆ์
ระหว่างปีพ.ศ.2450-2505


รอยเท้าหลวงพ่อเดิม
วัดหนองโพ นครสวรรค์
พ.ศ.๒๔๘๒-๒๔๘๕

***

วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ผ้ายันต์อริยสงฆ์รัตนโกสินทร์ (9)

ผ้ายันต์อริยสงฆ์
ระหว่างปีพ.ศ.2450-2505


ผ้ายันต์โภคทรัพย์
หลวงพ่อขอม อนิโชภิกขุ
วัดโพธาราม (ไผ่โรงวัว)
สองพี่น้อง สุพรรณบุรี
พ.ศ.๒๕๐๕ 

***

ผ้ายันต์อริยสงฆ์รัตนโกสินทร์ (8)

ผ้ายันต์อริยสงฆ์
ระหว่างปีพ.ศ.2450-2505


ยันต์กันภัย
หลวงพ่อเฮง วัดบ้านขอม
โคกขาม เมืองสมุทรสาคร
พ.ศ.๒๔๘๙

***

วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ผ้ายันต์อริยสงฆ์รัตนโกสินทร์ (7)

ผ้ายันต์อริยสงฆ์
ระหว่างปีพ.ศ.2450-2505


ผ้ายันต์กันโจรกันไฟ
หลวงพ่อแขก วัดบางปลา
บ้านเกาะ เมืองสมุทรสาคร
พ.ศ.๒๔๘๕

***

ผ้ายันต์อริยสงฆ์รัตนโกสินทร์ (6)

ผ้ายันต์อริยสงฆ์
ระหว่างปีพ.ศ.2450-2505


พระอุปัชฌาย์คง
(หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต)
วัดบางกะพ้อม อัมพวา สมุทรสงคราม
พ.ศ.๒๔๘๔

***

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ผ้ายันต์อริยสงฆ์รัตนโกสินทร์ (5)

ผ้ายันต์อริยสงฆ์
ระหว่างปีพ.ศ.2450-2505


พระครูวรเวทมุนี
หลวงพ่ออี๋ พุทฺธสโร
วัดสัตหีบ ชลบุรี
พ.ศ.๒๔๗๓

***

ผ้ายันต์อริยสงฆ์รัตนโกสินทร์ (2)


ผ้ายันต์อริยสงฆ์
ระหว่างปีพ.ศ.2450-2505




หลวงพ่อขาว วัดหลักสี่
ดอนเมือง กรุงเทพฯ
พ.ศ.๒๔๖๙

***

ผ้ายันต์อริยสงฆ์รัตนโกสินทร์ (4)

ผ้ายันต์อริยสงฆ์
ระหว่างปีพ.ศ.2450-2505


หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม
พระนครศรีอยุธยา
พ.ศ.๒๔๗๓

***

ผ้ายันต์อริยสงฆ์รัตนโกสินทร์ (3)

ผ้ายันต์อริยสงฆ์
ระหว่างปีพ.ศ.2450-2505


หลวงพ่อกึ๋น
วัดดอน ยานนาวา กทม.
พ.ศ.๒๔๗๑

***

ผ้ายันต์อริยสงฆ์รัตนโกสินทร์ (11)

ผ้ายันต์อริยสงฆ์
ระหว่างปีพ.ศ.2450-2505



ผ้ายันต์เสือสี่ทิศ
พระครูพิพัฒนิโรธกิจ (หลวงพ่อปาน)
วัดมงคลโคธาวาส (บางเหี้ย)
คลองด่าน สมุทรปราการ

***

ผ้ายันต์อริยสงฆ์รัตนโกสินทร์ (12)

ผ้ายันต์อริยสงฆ์
ระหว่างปีพ.ศ.2450-2505





ยันต์มหาลาภ
พระครูนิวาสธรรมขันธ์
หลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร
วัดหนองโพ นครสวรรค์
พ.ศ.๒๔๘๒

***

ผ้ายันต์อริยสงฆ์รัตนโกสินทร์ (13)

ผ้ายันต์อริยสงฆ์
ระหว่างปีพ.ศ.2450-2505


ยันต์กันไฟ-กันโจรผู้ร้าย
หลวงพ่อจง พุทธสโร
วัดหน้าต่างนอก
พระนครศรีอยุธยา

***

วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ผ้ายันต์อริยสงฆ์รัตนโกสินทร์ (10)

ผ้ายันต์อริยสงฆ์
ระหว่างปีพ.ศ.2450-2505


หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้
ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์ ปัตตานี
พ.ศ.๒๕๐๕

***

ผ้ายันต์อริยสงฆ์รัตนโกสินทร์ (1)





ผ้ายันต์อริยสงฆ์
ระหว่างปีพ.ศ.2450-2505






หลวงปู่ศุข เกสโร
วัดปากคลองมะขามเฒ่า
อ.วัดสิงห์ ชัยนาท
พ.ศ.๒๔๖๖

***

วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2563

คำสอน..หลวงพ่อ (2)


ธรรมปรัชญา
พระธรรมพุทธิมงคล


พระธรรมพุทธิมงคล (สอิ้ง สิรินนฺโท ป.ธ.๘) เจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร และเจ้าของโครงการผู้สร้างพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผา “สมเด็จพระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ” ขนาดความสูง ๓๕ เมตร หน้าตักกว้าง ๒๕ เมตร ณ ภูผามังกรบิน เขตโบราณสถานเมืองอู่ทอง สุพรรณบุรี มีผลงานอันเกี่ยวเนื่องกับการบำรุงพระพุทธศาสนาทั้งในด้านการพัฒนา และการเผยแพร่ธรรมเป็นจำนวนมาก

ธรรมปรัชญาที่นำมาลงไว้นี้ประพันธ์โดย พระธรรมพุทธมงคล(สอิ้ง สิรินนฺโท ป.ธ.๘) ยังครั้งดำรงสมณศักดิ์พระราชปริยัติสุธี (พ.ศ.๒๕๓๙-๒๕๕๑) มีอยู่ด้วยกัน 3 เล่ม แบ่งเป็น เสียงพระ เสียงเพลง ภาค ๑ ศีลธรรมและมงคลภาษิต ,เสียงพระ เสียงเพลง ภาค ๒  ทศบารมี และทศพิธราชธรรม และเสียงพระ เสียงเพลง ภาค ๓ อนุปุพพีกถา และจตุราริยสัจ พลังเหนือชีวิต ธรรมปรัชญาทั้ง ๓ เล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำอย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนนับล้านเล่ม โดย “สยามสุวรรณภูมิ” ได้รับอนุญาตให้คัดลอกเผยแพร่ต่อพุทธศาสนิกชน ตั้งแต่วันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๖๒

เสียงพระ เสียงเพลง ภาค ๑

มงคลภาษิต

พระคาถาที่ ๑
อเสวนา จ พาลานํ      ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา
ปูชา จ ปูชะนียานํ       เอตมฺมงฺคลมตฺตมํ

๑.    อเสวนา จ พาลานํ
วิสัยพาล           จิตใจ               ใฝ่แต่ชั่ว
ใครเกลือกกลั้ว               เป็นมิตร           สนิทสนม
ก็พลอยชั่ว                     หยาบช้า           ไม่น่าชม
อย่านิยม                       คบหา               ถ้ารักดี

                                          เหมือนแพรพรรณ เอามา             ห่อปลาเน่า
                              กลิ่นเหม็นเคล้า              ติดผ้า                เสื่อมราศี
                              จะให้ใคร                       ใครใคร             ไม่ยินดี
                              เปรียบอย่างนี้                คงเข้าใจ            ในคารมฯ

๒.    ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา
                                               ส่วนบัณฑิต       จิตใจ                ใฝ่แต่ชอบ
                                   ใครนบนอบ                   เป็นมิตร            สนิทสนม
                                   ก็พลอยดี                      มีค่า                  น่าชื่นชม
                                   ควรนิยม                       คบหา               ถ้ารักดี

                                เหมือนผ้าฝ้าย     รับรอง               ห่อของหอม
                                  กลิ่นจะย้อม                  ติดผ้า                ชูราศี
                                 กลิ่นหอมฟุ้ง                  จรุงใจ               ให้ยินดี
                                 เปรียบอย่างนี้                คงเข้าใจ            ในเนื้อความฯ

๓.    ปูชา จ ปูชะนียานํ
พระผู้พบ         สัจธรรม            นำมาเผย
                                    ชี้เฉลย                          เจนจบ              ทั้งภพสาม
                                    ทรงบอกทาง                  ดำเนิน              หากเดินตาม
                                    จะพบความ                   สุขสันต์             นิรันดร
                                                พระผู้ผ่าน         พบโชค              เหนือโลกสาม
                                    ทรงพระนาม                  “พุทธะ”            อดิศร
                                    เป็นบรม                        ศาสดา             ประชากร
                                    ทรงสั่งสอน                    ทางพระ            นฤพาน
                                                เป็นผู้ควร          บูชา                  สักการะ
                                    ด้วยอามิส                     ธรรมะ              สองสถาน
                                    ใครบูชา                        ได้บุญ               หนุนสันดาน
                                    ให้อาจหาญ                   เริ่งร่า                สง่างามฯ

เอตตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
                                                สามประการ      มงคล            ดลสวัสดิ์
                                    พูนพิพัฒน์                    ปราโมทย์           ประโยชน์สาม
                                    เจริญศักดิ์                      เจริญศรี            ความดีงาม
                                    เจริญธรรม                     เจริญสุข            ทุกประการฯ
         
พระคาถาที่ ๒

ปฏิรูปเทสวาโส จ       ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา
อตฺตสมฺมาปณิธิ จ       เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

๔.ปฏิรูปเทสวาโส จ

                                              พันธุ์ไม้ใหญ่      ปลูกไว้             ในกระถาง
                                 จะมีทาง                        โตใหญ่             ได้ละหรือ
                                 คงแคระแกร็น                เฉาตาย            เมื่อปลายมือ
                                 ที่ปลูกคือ                      เหตุให้              ไม้งามดี

                                           สังคมเลว           ใครมา              อยู่อาศัย
                                ก็พาให้                         ต่ำต้อย             ด้อยศักดิ์ศรี
                               สังคมดี                         เสริมให้             คนได้ดี
                               เปรียบอย่างนี้               คงเข้าใจ            ได้ทั่วกัน ฯ

๕.ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา

                                         สร้างบาป          บาปสาป           ให้ชั่วโฉด
                             สร้างบุญ                       บุญโปรด           ให้เฉิดฉัน
                             บาปบุญ                        แบ่งแยก            คนแปลกกัน
                             ให้ต่างชั้น                      เลวดี                 นี้แน่นอน

                                      สร้างบุญไว้          บุญช่วย             อำนวยโชค
                             ทั้งทางโลก                    ทางธรรม           สมคำสอน
                            ได้ลาภยศ                      สรรเสริญ           เจริญพร
                             สุขถาวร                        เพราะกุศล        ดลบันดาล ฯ

๖.อตฺตสมฺมาปณิธิ จ

                                        มีบุญเก่า           บุญใหม่            มิได้สร้าง
                            เป็นช่องทาง                   เก่าใหม่             ไม่ประสาน
                            การตั้งตน                      ไว้ชอบ              ระบอบการ
                          ย่อมประสาน              เก่าใหม่             ให้สมบูรณ์ ฯ

เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

                                       สามประการ      มงคล                ดลสวัสดิ์
                           พูนพิพัฒน์                    ตัดร้าย               มลายสูญ
                          เจริญศักดิ์                      เจริญศรี             ทวีคูณ
                          เจริญบุญ                       เจริญสุข             ทุกประการ ฯ

พระคาถาที่ ๓

พาหุสจฺจญฺจ สิปฺปญฺจ วินโย จ สุสิกฺขิโต
สุภาสิตา จ ยา วาจา    เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

๗.พาหุสจฺจญฺจ

                                    การศึกษา          พาให้                ได้ความคิด
                        นำชีวิต                          ก้าวหน้า            อย่าสงสัย
                        ศึกษามาก                     มองทาง             ได้กว้างไกล
                        ควรสนใจ                      แสวงหา              วิชาการ ฯ

๘.สิปฺปญฺจ

                                    มีวิชา                ต้องมี                วิธีใช้
                        จึงจะได้                         ผลประจักษ์       เป็นหลักฐาน
                        ต้องฝึกคิด                     ฝึกทำ               ให้ชำนาญ
                        ทั้งเชี่ยวชาญ                  ศิลปะ               หัตถกรรม
                                    ความสามารถ    ใช้วิชา               ชื่อว่า “ศิลป์”
                        ใครถวิล                        ฝึกไว้                ไม่ถลำ
                        ย่อมฉลาด                     ในกิจ                ที่คิดทำ
                        ไม่เพลี่ยงพล้ำ                กิจการ              งานนานา ฯ

๙.วินโย จ สุสิกฺขิโต

                                    เมื่อมีศิลป์         มีศาสตร์            ฉลาดแล้ว
                        ต้องรู้แนว                      วินัย                  ไว้รักษา
                        พฤติกรรม                     ให้ดี                  มีจรรยา
                        งามสง่า                         สมศักดิ์            สมหลักธรรม ฯ

๑๐.สุภาสิตา จ ยา วาจา

                                    พูดจากัน           สรรหา              สุภาษิต
                        พูดผูกมิตร                     กันไว้                ให้คมขำ
                        ไม่พูดมาก                     พูดน้อย            ทุกถ้อยคำ
                        ให้ดื่มด่ำ                       ไพเราะ              เสนาะฟัง ฯ

เอตมฺมงฺคลมตฺตมํ

                                    สี่ประการ          มงคล                ดลสวัสดิ์
                        พูนพิพัฒน์                    สุขสม               อารมณ์หวัง
                        เจริญศักดิ์                      เจริญศรี            ยืนจีรัง
                        ไม่ผิดหวัง                      สมสุข               ทุกประการ ฯ

 ***