โพสต์แนะนำ

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ลอยกระทง


นางกษัตริย์คืนเดือนเพ็ญ
ศิลปะภาคใต้ นครศรีธรรมราช


ประติมากรรมกระเบื้องเคลือบสามสี รูปนางกษัตริย์แห่งเมือง12นักษัตร ลอยกระทงประทีปคืนเพ็ญเดือน12 ในแม่น้ำตาปี (เมืองนครศรีธรรมราช) อายุราวพุทธศตวรรษที่19-20 พบในแหล่งเตาเผากระเบื้องเคลือบในเขตเทือกเขานครศรีธรรมราช ศิลปะเมืองนครศรีธรรมราช  หลังจากเมืองภาคใต้ไปจรดปลายแหลมมาลายูตกอยู่ในอำนาจของ “เสียน” จนถึง “เสียนหลอหู” อาณาจักรซึ่งทรงอิทธิพลอยู่ทางตอนบน พื้นที่นี้มีความเจริญทางพุทธศาสนา ศิลปะ ประเพณี การเมืองการปกครอง และวัฒนธรรม



ประเพณีลอยประทีปบูชาพระคงคาที่ได้แบบอย่างมาจากลังกาและอินเดีย ตามตำราพุทธเถรวาทลอยกระทงด้วยเป้าประสงค์หลายประการ อาทิเพื่อขอขมาบูชาแม่น้ำ บูชาพระเกศาของพระพุทธเจ้า( พระจุฬามณี) บนสวรรค์ เพื่อต้อนรับองค์พระสัมมาสัมโพธิญาณเสด็จกลับจากเทวโลกหลังจากแสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดา เพื่อบูชาพระอุปคุตะเถระที่บำเพ็ญตะบะในท้องทะเล ภาคใต้ในสมัยโบราณกษัตริย์ ขุนนาง และชาวเมือง ไปลอยกระทงประทีปในแม่น้ำตาปี หรือแม่น้ำหลวง แม่น้ำสายใหญ่ที่สุดในภาคใต้มีต้นกำเนิดจากเขาหลวงอ.พิปูนจ.นครศรีธรรมราชลงสู่อ่าวไทยที่อ.บ้านดอนจ.สุราษฎร์ธานี


แม่น้ำตาปี มีการตั้งชื่อให้พ้องกับแม่น้ำ “ตาปติ” เช่นเดียวกับเมืองสุราษฎร์ธานีพ้องกับ “เมืองสุรัฏฐ”ในชมพูทวีป ที่มีต้นทางจากภูเขาสัตตปุระ ไหลสู่ปากแม่น้ำเมืองสุรัฏฐ หรืออ่าวแคมเบย์ มหาสมุทรอินเดีย ในสมัยโบราณชาวเดินเรือต่างชาติทั้งจากจีน อินเดีย อาหรับ เปอร์เซีย ต่างรู้จักกันดี โดยเฉพาะนักเดินเรือชาติกรีก ปโตเลมี(Cludius Ptolemy)ที่เข้ามาในแดนสุวรรณภูมิในปลายพุทธศตวรรษที่ 7 ได้เรียกแม่น้ำตาปีว่า แม่น้ำอัตตาบาส์. (ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Album Pirun Wongsawarn)


*********

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น