โพสต์แนะนำ

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2561

พระสมเด็จฯ๒๓


สมเด็จฯวัดระฆัง
พิมพ์ใหญ่ กรอบกระจก


              พระสมเด็จฯวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ กรอบกระจก เป็นพระที่ตัดด้านข้างทั้ง ๔ ด้านเกินเส้นบังคับพิมพ์ ทำให้องค์พระ เส้นซุ้ม และกรอบบังคับพิมพ์ ลอยเด่นอย่างเป็นอิสระ จึงมีขนาดใหญ่กว่าแบบพิมพ์อื่นที่ตัดชิดเส้นบังคับพิมพ์ มีขนาดความกว้าง ๒.๖ ซ.ม.สูง ๓.๘ ซ.ม.


              เอกลักษณ์ของพระสมเด็จฯพิมพ์นี้ อยู่ที่เส้นบังคับพิมพ์ค่อนข้างหนา ด้านขวาองค์พระเป็นเส้นคู่วิ่งลงมาจากขอบบน เส้นในชนเส้นซุ้มบริเวณฐานที่ ๒ เส้นนอกวิ่งเลยลงมาชนกับกรอบล่าง ส่วนเส้นบังคับด้านซ้ายวิ่งลงมาจากด้านบนแล้วเบียดเข้ากับเส้นซุ้มบริเวณฐานชั้นที่ ๒ เส้นซุ้มครอบแก้วส่วนบนทั้งสองด้านค่อนข้างได้สัดส่วน พื้นในกรอบผนังด้านนอกสูงกว่าผนังภายในเส้นซุ้ม สำหรับด้านหลังของพระองค์ที่นำมาลงไว้นี้ เป็นหลังกระดาน เกิดจากการปาดจากด้านซ้ายไปขวา ขอบกระดานหรือวัสดุที่ใช้ปาดไม่ราบเรียบเสมอกัน จึงทำให้เกิดร่องเป็นระยะ



              ส่วนสภาพผิวเนื้อขององค์พระ ส่วนนอกสุดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีการลงรักน้ำเกลี้ยงมาแต่เดิม เนื้อพระด้านหน้าแตกร่องระแหง เกิดจากขั้นตอนการตากสภาพอากาศร้อนกว่าปกติจึงดูดซับความชื้นได้ค่อนข้างมาก เมื่อนำมาลงรัก ผ่านกาลเวลาผิวรักหลุดร่อนออกไป เหลือติดค้างอยู่ภายในร่องจึงเห็นรอยรานอย่างชัดเจน ส่วนด้านหลังไม่ได้รับผลกระทบจากไอแดด เนื้อพระจึงไม่มีรอยแต่อย่างใด มีเพียงรอยรั้งด้านข้างองค์พระบางส่วน ซึ่งเกิดขึ้นจากการยุบตัวของเนื้อพระนั่นเอง

              พระสมเด็จฯวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่กรอบกระจก จัดเป็นพระที่สวยงามได้สัดส่วน ปัจจุบันพบเห็นการทำเลียนแบบค่อนข้างมาก แต่มีความแตกต่างจากของเดิม เนื่องจากความหนึกนุ่ม รอยพรุนปลายเข็ม และธรรมชาติของพระเนื้อผงที่มีอายุเกินศตวรรษยังทำได้ไม่เหมือน อย่างไรก็ดี ในพระสมเด็จฯพิมพ์นี้ บางองค์ตัดชิดกรอบบังคับพิมพ์ก็มีครับ.

ศึกษาเพื่อการอนุรักษ์วัตถุโบราณ
........จันทร์พลูหลวง............

*********

2 ความคิดเห็น:

  1. *ส่วนตัว..แม่พิมพ์พระสมเด็จฯดั้งเดิมจะเป็นตัวเมียสร้างด้วยโลหะสำริดด้านหลังมีด้ามจับ(ตามlinkพิพิธภัณฑ์ที่ขุดค้นพบ)สำหรับไว้กดลงบนเนื้อมวลสารแบบปั้นกดที่สามารถกลึงตีแผ่ออกเป็นแผ่นกว้าง&เกณฑ์ความหนาให้พอดีกดได้ครั้งละหลายองค์&เมื่อยกแม่พิมพ์ขึ้นอาจเขยื้อนผิดเพี้ยนพิมพ์ได้แล้วจึงตัดปีกเนื้อส่วนเกินตามแนวร่องขอบแม่พิมพ์ที่ปรากฏบนเนื้อมวลสารโดยรอบทั้ง4ด้าน&ถ้าตัดชิดขอบก็จะไม่ทำให้เกิดรอยกรอบกระจกสองชั้นแบบขั้นบันไดแต่ถ้าตัดห่างขอบก็จะเกิดเป็นรอยกรอบสองชั้นได้คล้ายกับพระที่ถอดพิมพ์มา..จะเห็นว่าพระสมเด็จอรหังแม้จะมีกรอบกระจกนูนตามขอบแต่ก็ไม่มีการตัดตอกข้างแต่อย่างใดแสดงว่าใช้แม่พิมพ์แบบ2-3ชิ้นประกบด้วยสลักยึดติดแม่พิมพ์ตัวเมียเดด้านล่าง&ถอดแยกส่วนได้ซึ่งมีมานานแล้วก่อนปี2415..อนึ่งพระสมเด็จแท้ที่ตัดปีกกว้างมากๆยุคปลายก็ยังมีปรากฏให้เห็นเช่นสมเด็จบางขุนพรหมพิมพ์อกครุฑ,สังฆาฏิปี2413นั่นเอง.ดังนั้นจึงไม่ควรยึดถือเอาลักษณะเส้นวาสนากรอบกระจก(พระเก่าแบบพระปิลันทน์ก็มี)หรือพระที่มีปีกกว้างนี้ถือเป็นเกณฑ์ว่าเป็นพระแท้หรือเก๊ให้ตัดประเด็นนี้ออกได้เลย.พระปลอมก็ทำเส้นที่ว่านี้ได้หมดแล้ว..*อนึ่งพระถอดพิมพ์จะมีขนาดเส้นสายใหญ่ขึ้นไม่คมชัด,ถ้าถอดจากยางซิลิโคลนจะไม่มีการตัดตอกก็จะไม่เกิดเส้นรอบกรอบกระจกซ้อนกันขึ้นมา&จะเหมือนองค์ต้นแบบเท่านั้นแต่ถ้าถอดจากแม่พิมพ์ที่เป็นวัสดุแข็งก็จำเป็นต้องตอกตัดเนื้อส่วนเกินซึ่งอาจจะทำให้เกิดเส้นกรอบกระจกซ้อนหรืออาจจะไม่ซ้อนเพิ่มขึ้นมาอีกก็ได้.ให้สังเกตุเนื้อปูนตำที่ใช้กดพระก็คือปูนเปลือกหอยผสมน้ำมันตังอิ้วหรือเนื้อดินผสมว่านที่พร้อมใช้งานได้จากลิงค์นี้ http://www.blockpra.com/
    *ตย.แม่พิมพ์พระสำริดโบราณ http://www.finearts.go.th/roietmuseum/index.php/parameters/km/item/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0-4
    *หนังสือตรียัมปวายพระสมเด็จจะมีทั้งแบบมีกรอบกระจกและแบบไม่มีกรอบกระจก http://thai-buddha-images.blogspot.com/2017/04/blog-post.html
    (ช่วยกันเพื่อค้นหาความจริงด้วยเหตุและผล..ไม่จำเป็นต้องเชื่อผม..ถูกผิดอย่างไร..น้อมรับในวิจารณญานของทุกๆท่าน)

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ12 สิงหาคม 2566 เวลา 06:08

    ของผมก็มีแบบนี้1องค์ครับไม่รู้เลยว่ามีพิมพ์แบบนี้ครับได้ความรู้เพิ่มขึ้นครับขอบคุณมากๆเลย

    ตอบลบ